คู่มือสมาคม by admin_TCBA 03/09/2019 ประวัติความเป็นมา ในปี 2004 มีนักธุรกิจผู้ประกอบการคริสเตียนกลุ่มหนึ่ง ได้มีการรวมตัวกันเพื่อเกื้อหนุนกันทางด้านธุรกิจ ได้มีการประชุมต่อเนื่องกันหลายครั้ง จนกระทั่ง ในปี 2005คณะผู้ก่อตั้งได้มีการเรียกประชุม และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม ชุดแรกขึ้นและจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อว่า “สมาคมธุรกิจคริสเตียนไทย” มี นายสมศักดิ์ เทศน์สาลี เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก ต่อมาได้ก่อตั้งสาขาแรกขึ้นที่ พัทยา เรียกว่า สาขาภาคตะวันออก มีนาย แจ๊ค ลิมบู เป็นประธานสาขาคนแรก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯได้มีการปรับปรุงพัฒนาแผนการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสมาชิกหลายครั้ง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นช่วงเวลา ดังนี้ ช่วงแรก ปี2005 - 2009 ช่วงแห่งการวางรากฐานในระยะเวลา 4 ปีแรกของสมาคมฯภายใต้การนำของ นายกฯ สมศักดิ์ เทศน์สาลี อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงแห่งการทำความเข้าใจกับคริสตจักรและมวลสมาชิก กำหนดทิศทางขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม สมาคมฯก็ได้มีการเยี่ยมเยียนคริสตจักรและมีการรวมกลุ่มสมาชิกในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชัยนาท อุทัยธานี ลพบุรี และขอนแก่นช่วงที่สอง ปี 2010- 2015ช่วงแห่งการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของโลก ในช่วงระยะเวลา ถัดมา ภายใต้การนำของ นายกฯ สุธี เตชะรักษ์พงศ์ ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่แห่งการเจริญเติบโต และขับเคลื่อนไปสู่อนาคตอย่างก้าวกระโดดของสมาคมฯ ด้วยนโยบายเชิงรุก “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ได้มีการปรับโครงสร้าง การบริหารเป็นคณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการอำนวยการมีการขยายตั้งสโมสรสาขาถึงทุกภูมิภาค การพัฒนาองค์ความรู้ โดยร่วมกับภาครัฐและองค์กรเอกชนต่าง ๆ การขยายฐานต่อยอดธุรกิจ และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์ การริเริ่มโครงการใหม่ ๆ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในสโมสรอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ : การจัดงานจำหน่ายสินค้า FISH FUN FAIR โครงการ TCBA สัญจร โครงการ จับคู่ทางธุรกิจ โครงการหนึ่งสโมสรฯหนึ่งตลาดนัด ฯลฯ และการสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC. ช่วงที่สาม ปี 2016 –2017ช่วงแห่งการเข้าสู่สากลเพื่อเป็นการรองรับการเปิด AEC และตลาดการค้าเสรี นายกฯสุธี เตชะรักษ์พงศ์ ได้นำสมาคมฯก้าวสู่การปรับโครงสร้างใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยนโยบาย “ทำธุรกิจทั่วโลก ผ่านผู้ที่มีความเชื่อเดียวกัน” มีการแบ่งสโมสรต่างๆออกเป็นภาค การทำธุรกิจภายในประเทศผ่านหน่วยธุรกิจ(Business Unit)การเปิดประตู(Platform)สู่โลกออนไลน์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ช่วงที่สี่ ปี 2018 –ปัจจุบัน ช่วงแห่งการเข้าสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบภาวะการถดถอยด้านเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทั่วไป การทลายลงของหลายธุรกิจอันเนื่องมาจากเทคโนโลยี่ การเติบโตอย่างรวดเร็วของการตลาดออนไลน์ทำให้สมาคมฯมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนทิศทางให้คมชัดขึ้น เป็นอีกครั้งหนึ่งที่นายกฯสุธี เตชะรักษ์พงศ์ ได้ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของสมาคมฯคือ“เปิดประตูสู่ธุรกิจ”เพื่อเป็นเวทีต่อเชื่อมสายสัมพันธ์ทางธุรกิจเปิดโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจตอกย้ำถึงการทำธุรกิจคู่พันธกิจและตั้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อดูแลโซเชียลของสมาคมฯเน้นการเปิดประตูสู่บุคคลทั่วไปสมาคมธุรกิจคริสเตียนไทย จะยังคงพัฒนาศักยภาพ สร้างเครือข่ายธุรกิจและต่อยอดในหมู่มวลสมาชิก เพื่อก้าวสู่การเป็นสมาคมชั้นนำที่ยกระดับมาตรฐาน จริยคุณธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประกอบการคริสเตียน แบบยั่งยืน โครงสร้างการบริหาร สมาคม1. สมาคมฯจะจัดให้มีการประชุมสมัชชาทุกๆ2 ปี เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ สามัคคีธรรมในหมู่มวลสมาชิกรายงานผลงานที่สำเร็จ นำเสนอวิสัยทัศน์และภาระกิจที่จะดำเนินการในอนาคต รวมทั้งเลือกตั้งนายกสมาคมฯ2. สมาคมฯจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปีละ 1 ครั้ง เพื่อรายงานผลงานปีที่ผ่านมา รับรองรายงานการเงิน ประชุมแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบและข้อปฏิบัติของสมาคมฯ และวางแผนงานที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต3. สมาคมฯจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารปีละ2-3ครั้ง เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายของสมาคมฯตามมติของคณะกรรมการอำนวยการ4. สมาคมฯจะจัดให้มีการประชุมกรรมการขับเคลื่อนตามวาระที่กำหนด เพื่อวางแผน ปฏิบัติงาน และผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม5. สมาคมฯจะจัดตั้งสาขาในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศเรียกว่า “สโมสรธุรกิจคริสเตียน” ซึ่งสามารถมีมากกว่า 1 สาขา ในแต่ละท้องถิ่นได้ สโมสร 1. สมาชิกของสมาคมฯต้องสังกัดในสโมสรฯใดสโมสรฯหนึ่งของสมาคมฯ2. สโมสรฯที่มีสถานภาพสมบูรณ์ต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 10 คน3. สโมสรฯต้องจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสโมสรฯภายในเดือนตุลาคมและเข้าบริหารในเดือนมกราคมของปีถัดไป4. คณะกรรมการบริหารสโมสรฯต้องมีการประชุมกรรมการอย่างสม่ำเสมอและรายงานการประชุมให้สมาคมฯและสมาชิกทราบ5. สโมสรฯต้องจัดให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งเพื่อพัฒนาความรู้ ต่อยอดธุรกิจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่สมาชิกและรายงานผลการดำเนินงานของสโมสรฯให้สมาคมฯทราบ6. สโมสรฯต้องจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อคริสตจักรหรือต่อชุมชนอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง7. สโมสรฯต้องส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมกรรมการอำนวยการและประชุมสมัชชาสมาคมธุรกิจคริสเตียนไทย การแต่งตั้งและการเลือกตั้ง 1. คณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วยประธานสโมสรฯ(โดยตำแหน่ง) คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และนายกสมาคมฯ2. คณะกรรมการบริหารสมาคมฯมาจากการเลือกตั้งดังนี้ สโมสรฯแต่งตั้งตัวแทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาสมาชิกทุกๆ 10 คน แต่งตั้งตัวแทนได้ 1คนเศษเกิน 5 คน ปัดเพิ่มเป็น 1 คน ตัวแทนสโมสรฯมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งและออกเสียงแก้ไขกฎระเบียบและข้อปฏิบัติ เลือกนายกสมาคมฯจากที่ประชุมสมัชชา ประธานสโมสรฯเป็นกรรมการอำนวยการสมาคมฯโดยตำแหน่ง นายกสมาคมฯเป็นผู้แต่งตั้ง ตำแหน่งอุปนายก เลขานุการและเหรัญญิก ส่วนตำแหน่งอื่นๆอาจพิจารณาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม วาระกรรมการบริหารสมาคมฯคือ2 ปี และ/หรือ สิ้นสุดลงพร้อมนายกสมาคมฯ3. ที่ปรึกษาและคณะกรรมการขับเคลื่อนสมาคมฯ มาจากการแต่งตั้งโดยนายกสมาคมฯตำแหน่งในคณะกรรมการขับเคลื่อนสมาคมฯปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี และ/หรือ สิ้นสุดลงพร้อมนายกสมาคมฯ4. การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรธุรกิจคริสเตียนสมาชิกทุกคนมีสิทธิออกเสียง 1 เสียงเพื่อเลือกประธาน,รองประธาน,เลขานุการและเหรัญญิกจากที่ประชุมใหญ่ประจำแต่ละสโมสรฯตำแหน่งอื่นๆพิจารณาเลือกตามความเหมาะสม วาระกรรมการบริหารสโมสรฯ 2 ปี โดยให้สิ้นสุดวาระพร้อมกันกับวาระคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ขอบเขตและหน้าที่ของกรรมการบริหารสโมสร 1. ประธานสโมสรเป็นกรรมการอำนวยการสมาคมฯโดยตำแหน่ง จัดให้มีการประชุมสโมสรฯอย่างสม่ำเสมอ มีหน้าที่เป็นประธานในการประชุมทุกอย่างของสโมสรฯ ต้องประสานงานกับคณะกรรมการและสมาชิกมอบหมายและกำกับดูแลการทำงานของกรรมการทุกคนและผลักดันสโมสรให้บรรลุตามภารกิจที่ตั้งไว้ ตรวจสอบบัญชีและรายรับรายจ่ายของสโมสรฯว่าถูกต้องหรือไม่ เป็นตัวแทนสโมสรฯเข้าร่วมการประชุมกับองค์กรอื่นๆในนามของประธานสโมสรธุรกิจคริสเตียนและเป็นตัวแทนของสโมสรฯเข้าร่วมประชุมกับสมาคมฯ2. รองประธานสโมสรมีหน้าที่ช่วยประธานสโมสรฯตามที่ได้รับมอบหมายกำกับดูแล หนุนใจ กรรมการฝ่ายต่างๆร่วมกับประธานให้มีความเข้มแข็งในการผลักดันภารกิจของสโมสรฯ และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมในกรณีที่ประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้3. เลขานุการสโมสรมีหน้าที่ทำการบันทึกในที่ประชุม ออกหนังสือเชิญประชุมและรายงานการประชุมให้ที่ประชุมทราบ เก็บรักษาเอกสารต่างๆของสโมสรฯ จัดทำทะเบียน สมาชิกและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอและดำเนินการต่างๆของสโมสรฯตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสโมสรฯ4. เหรัญญิกสโมสรมีหน้าที่เก็บรักษาเงินสโมสรฯไว้ในที่ปลอดภัย ติดตามสมาชิกให้ชำระค่าบำรุงสมาชิกประจำปีของสมาคมฯและสโมสรฯรายงานการเงินของสโมสรฯตามวาระ อีกทั้งยังต้องทำบัญชีการเงินของสโมสรฯแยกไว้เป็นสองบัญชี คือ : -บัญชีบริหารงานของสโมสรฯ -บัญชีกิจกรรมทั้งนี้จะต้องไม่นำบัญชีกิจกรรมไปใช้ปะปนกับบัญชีบริหารงาน ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายของสโมสรฯให้ใช้จ่ายอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงชื่อเสียงของสโมสรฯ คำปฏิญาณของสมาชิกสโมสร 1. ข้าพเจ้าจะเข้าร่วมการประชุมของสโมสรธุรกิจคริสเตียน อย่างสม่ำเสมอ และจะให้ความสำคัญต่อวันประชุม จะไม่รับนัดอื่นใดในวันประชุมดังกล่าว5. ข้าพเจ้าจะรีบชำระค่าบำรุง และค่าใช้จ่ายต่างๆให้แก่สโมสรโดยมิต้องให้สโมสรทวงถาม4. ข้าพเจ้าจะประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสโมสรให้แก่ญาติมิตร ด้วยความภาคภูมิใจและจะชักชวนให้เขาเหล่านั้นเข้าร่วมกิจกรรมของสโมสรตามโอกาสอันสมควร3.ข้าพเจ้าเห็นว่ามิตรภาพระหว่างสมาชิกเป็นสิ่งสำคัญกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งเคลือบแฝงใดใดอันอาจนำมาสู่การไม่ไว้วางใจในเจตนาอันบริสุทธิ์ ของการมาเป็นสมาชิกสโมสร 2. ข้าพเจ้าจะแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อสโมสร และสมาชิกเพื่อการพัฒนาสโมสรและการสร้างมิตรภาพระหว่างสมาชิก Share FacebookTwitterLINEEmail