ประตูสู่ธุรกิจ

ประตูสู่เมียนมา 🇲🇲 ตอนที่ 1
ประเทศเมียนมา (หรือที่คนไทยหลายคนเรียกติดปากว่า ประเทศพม่า) มีชื่อเต็มว่า “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ The Republic of the Union of Myanmar” เป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลักๆ 8 ชาติพันธุ์ โดยมี "คนพม่า" (Burma) เป็นชาติพันธุ์หลัก แต่เดิมเมื่อประเทศเมียนมาได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 4 มกราคม 2491 ยังคงใช้ชื่อประเทศตามอังกฤษว่า The Union of Burma จนกระทั่งปี 2532 รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น The Union of Myanmar เพื่อความสมานฉันท์ของผู้คนในชาติ โดยชื่อใหม่นี้ จะมีความหมายในการครอบคลุมถึงทุกชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศ โดยมิได้เห็นแก่เพียงชาติพันธุ์พม่าเท่านั้น ดังนั้น ผมจึงได้แนะนำว่า หากต้องการเดินทางไปประเทศเมียนมา ควรเรียกชื่อ “เมียนมา” แทนที่จะเรียกชื่อ “พม่า” ซึ่งอาจทำให้พี่น้องชาติพันธุ์อื่นๆ รู้สึกไม่สบายใจ
ประเทศเมียนมา ปัจจุบันมีเมืองหลวงคือ “เนปิดอว์” (ไม่ใช่ย่างกุ้งอีกต่อไป) ซึ่งรัฐบาลเมียนมา ได้ย้ายจากย่างกุ้งมายังเมืองหลวงใหม่นี้ ตั้งแต่ปี 2548 และสกุลเงินคือ “จัตพม่า (MMK)” อย่างไรก็ตาม หากพี่น้องต้องการมาประกอบธุรกิจ หรือ ท่องเที่ยว...ย่างกุ้ง ยังคงเป็นศูนย์กลางด้านพาณิชย์ การคมนาคม และการท่องเที่ยวเช่นเดิม ส่วนเนปิดอร์ เราจะไปในกรณีติดต่อราชการเท่านั้น
ตอนที่ 2 ประเทศเมียนมา 🇲🇲
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 676,000 ต่อตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ 510,000 ต่อตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มบริเวณภาคกลางของประเทศ ส่วนภาคเหนือและตะวันออกจะค่อนข้างเป็นที่ราบสูงมีประชากรประมาณ 53 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี 2559) “สรุปง่ายๆก็คือ ประเทศเมียนมา มีพื้นที่ใหญ่กว่าไทย แต่ประชากรน้อยกว่าไทย และความอุดมสมบูรณ์ก็ยังมีมาก พร้อมที่จะให้พวกเราไปบุกเบิก!”
ในด้านการปกครอง แบ่งเป็น 7 เขต (Divisions) และ 7 รัฐ (States) ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญกับเราในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการไทย โดย 7 เขตปกครองโดย คนพม่า (Burma) เป็นหลัก ดังนี้;
[dt_vc_list]
1. เขต สะกาย (Sagaing)
2. เขต ตะนาวศรี (Tanintharyi)
3. เขต พะโค (Bago)
4. เขต มาเกว (Magway)
5. เขต มัณฑะเลย์ (Mandalay)
6. เขต ย่างกุ้ง (Yangon)
7. เขต อิรวดี (Ayeyearwady)
[/dt_vc_list]
ส่วน 7 รัฐ ปกครองโดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นหลัก ดังนี้;
[dt_vc_list]1. รัฐ ฉาน (Shan State)
2. รัฐ กะฉิ่น (Kachin State)
3. รัฐ กะเหรี่ยง (Kayin State)
4. รัฐ ยะไข่ (Rakhine State)
5. รัฐ คะยา (Kayah State)
6. รัฐ มอญ (Mon State)
7. รัฐ ชิน (Chin State)
[/dt_vc_list]